จากกรณีที่ “ดาเรีย คาเรนยุก” นักข่าวหญิงชาวยูเครน ได้เรียกร้อง เขตห้ามบิน กับทาง “บอริส จอห์นสัน” นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ ทำไมหลายคนอาจสงสัยขึ้นมาได้ว่าเขตห้ามบินนั้นคืออะไร และมีความหมายอย่างไรกันเนี่ย The Thaiger จึงขออาสาสร้างความกระจ่างให้แก่ทุกท่านที่สงสัยเกี่ยวกับข้อห้ามของเขตนี้ ทำไมถึงห้ามบินและทำอย่างไรถึงจะได้เขตนี้ขึ้น เราไปเรียนรู้เกี่ยวกับเขตห้ามบินกันได้เลย
เขตห้ามบิน คืออะไร
เขตห้ามบิน (No-fly zone ) คือ บริเวณเหนือน่านฟ้าของประเทศที่กำหนดว่า ห้ามให้เครื่องบินหรืออากาศยานบางชนิดบินผ่าน โดยส่วนมากจะประกาศใช้เพื่อรักษาาความปลอดภัยในพื้นที่ ๆ ค่อนข้างมีความเปราะบาง หรือในบางพื้นที่ ที่จำเป็นต้องมีการรักษาความลับ รวมไปถึงสถานที่ใช้ในการชุมนุม หรือจัดการแข่งขันกีฬาระดับประเทศเป็นต้น
ซึ่งในด้านการทหาร การมีเขตห้ามบินจะมีขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีอากาศยานลุกล้ำเข้าไปในน่านฟ้าที่ได้มีการประกาศใช้เขตห้ามบิน เพื่อป้องกันการโจมตี หรือสอดแนมจากฝ่ายตรงข้าม จะต้องมีการบังคับใช้โดยกองกำลังทหาร ซึ่งนั่นหมายถึงหากมีอากาศยานไม่ว่าจะเป็นของที่ใด โดยเฉพาะของฝ่ายตรงข้าม ฝั่งที่โดนลุกล้ำก็จะสามารถทำการสกัดกั้นด้วยการยิง หรือวิธีการอื่น ๆ ได้ทันที
ในกรณียูเครน – รัสเซีย
ในกรณีของยูเครนนั้นข้อเรียกร้องนี้เกิดขึ้นจาก ผู้คนที่ยังอยู่ในพื้นที่และไม่สามารถอพยพ ไปที่ใดได้ ในคณะที่ รัสเซียก็ยังทำการโจมตี ด้วยอากาศยานรบอยู่เป็นเนืองนิตย์ แต่เหตุผลที่ยังไม่สามารถจะประกาศเขตห้ามบินได้นั้น ทางนานาประเทศ อาทิ อเมริกา หรือองกรค์นาโต้ที่ได้ยื่นมือเข้าไปช่วยยูเครนก็ต่างได้ให้ความเห็นว่า หากทำเช่นนั้นเท่ากับทำให้สถานการณ์ของสงครามตรึงเครียดยิ่งขึ้นเนื่องจาก หากประกาศเขตห้ามบินไปแล้ว ก็เท่ากับต้องเปิดสงครามกับรัสเซียด้วยการยิงสกัดอากาศยานทุกลำโดยไม่มีข้อยกเว้นนั่นเอง
Spotify ประกาศถึงการปิดสำนักงานประจำประเทศ รัสเซีย พร้อมทั้งปิดช่องสื่อที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซียบนแพลตฟอร์ม – RT และ Sputnik (3 มี.ค. 2565) Spotify ทำการประกาศถึงการปิดสำนักงานประจำประเทศ รัสเซีย หลังจากที่เพิ่งยื่นเรื่องเปิดสำนักงานไปเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา และยังได้ดำเนินการถอดเนื้อหาทั้งหมด รวมถึงช่องทางของงสื่อที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซียบนแพลตฟอร์มของตัวเองอีกด้วย
โดยทาง Spotify ได้ประกาศเมื่อวานนี้ว่าบริษัทได้ดำเนินการปิดสำนักงานในประเทศรัสเซียลงไปอย่างไม่มีกำหนด หลังมีการเปิดตามกฎหมายที่มีการลงนามเมื่อกรกฏาคม 2021 ที่ซึ่งบังคับให้บริษัท Social Media จากต่างประเทศที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวน 5 แสนรายต่อวัน มิเช่นจะถูกปิดกั้นการเข้าถึงภายในประเทศรัสเซีย
การดำเนินการดังกล่าวนั้น Spotify ได้กล่าวว่าเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อ “การโจมตีประเทศยูเครนอย่างไร้เหตุผล” และในแถลงการที่ประกาศออกไปนั้นก็มีเนื้อหาอีกว่า “เป้าหมายหลักของเราในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมานั้น ก็คือความปลอดภัยของพนักงานของเรา และเพื่อมั่นใจว่าแพลตฟอร์มนั้นจะเป็นจะเป็นแหล่งข้อมูลด้านข่าวสารทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาคที่สำคัญสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาสำคัญเป็นอย่างยิ่ง”
ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ แพลตฟอร์มก็ได้ทำการถอดเนื้อหาทั้งหมดจากสื่อที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซีย – RT และ Sputnik ในทุกภูมิภาคทั่วโลก ยกเว้นในประเทศรัสเซีย ตามหลัง Facebook (Meta) และ Twitter
ไม่ได้! หนุ่มซิ่งรถ อ้างอยากรีบกลับบ้านไปดูข่าว ‘ปูติน’
ตำรวจอย่างงง! หลังเจอ หนุ่มซิ่งรถ ยอมรับสาเหตุที่ขับเร็ว เพราะอยากรีบไปดูข่าว ปูติน หลังจากที่รัสเซียเปิดฉากบุกรุกยูเครน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม สำนักข่าว นิวยอร์กโพสต์ รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เรียกชายคนหนึ่งให้จอดรถ หลังจากที่เขาขับรถเร็วเกินกำหนด โดยรถของเขาวิ่งด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในพื้นที่ที่อนุญาตให้วิ่งได้แค่ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
โดยในตอนแรกชายคนดังกล่าวอ้างว่า เขาขับรถเร็ว เพราะว่าเขาเพิ่งซื้อรถใหม่และเขาอยากจะลองดูว่ารถคันนี้ของเขาวิ่งได้เร็วขนาดไหน ก่อนที่เจ้าตัวจะยอมรับ “ความจริง” ในภายหลังว่าสาเหตุที่เขาซิ่งรถ เพราะนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียส่งกองทัพบุกรุกยูเครน
ชายคนนี้ได้เล่าให้เจ้าหน้าที่ตำรวจฟังว่า ผมเพิ่งได้ยินว่าปูตินจะยิงนิวเคลียร์ และผมพยายามรีบกลับบ้านเพื่อไปติดตามข่าวว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่ผู้นำรัสเซียเปิดฉากเริ่มปฏิบัติทางทหาร อย่างไรก็ดีชายชาวฟลอริดาคนนี้ได้รับใบสั่งในข้อหาขับรถเร็วและไม่หยุดตามป้ายจราจร
ในระหว่างวันที่ 16-22 พฤษภาคม 2563 ได้ตรวจไปแล้ว 45,481 ตัวอย่าง โดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 155 ห้องปฏิบัติการจากทั้งหมดทั่วประเทศ 173 ห้องปฏิบัติการ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคโควิด-19 ประเทศไทยได้มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคโควิด-19 โดยการตรวจหาสารพันธุกรรม (RT-PCR) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานสากล ไปแล้ว 328,079 ตัวอย่าง คิดเป็น 4,926 ตัวอย่างต่อประชากรหนึ่งล้านคน ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2563
ในระหว่างวันที่ 9-15 พฤษภาคม 2563 ได้ตรวจไปแล้ว 42,071 ตัวอย่าง โดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศ แหล่งข้อมูล: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
แนะนำ : ดูดวงไพ่ยิปซี | รีวิวที่พัก | รีวิวคาเฟ่ | วิธีลดน้ำหนัก | รีวิวอนิเมะ ญี่ปุ่น